TH EN
ชุมชนโพธิ์ซ้ายร่มเย็น จ.พระนครศรีอยุธยา

อัพเดต : 10/06/2019 17:21:23

แหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ชุมชนโพธิ์ซ้ายร่มเย็น

จากการดำเนินงานโครงการปี 2558 ภายใต้การลงนามความร่วมมือ “ในการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลหมู่บ้านโดยการจัดการของเสียเหลือศูนย์” ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 14 แห่ง และมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ3R)นั้น ได้ดำเนินการต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถผลักดันให้ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และสามารถดำเนินกิจกรรมในกระบวนการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล และเริ่มดำเนินการการคัดแยกขยะเพื่อพัฒนาไปสู่การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล
ในปี 2559 ได้มีการดำเนินจัดทำโครงการจัดประกวดและคัดเลือกหมู่บ้านชุมชนต้นแบบการจัดขยะชุมชนโดย “ชุมชนโพธิ์ซ้ายร่มเย็น” ของเทศบาลตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นชุมชนที่ได้รับคัดเลือกหมู่บ้านชุมชนต้นแบบการจัดการขยะชุมชน จนทำให้ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ความสนใจเข้าไปแลกเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ  ซึ่งถือได้ว่าชุมชนโพธิ์ซ้ายร่มเย็น มีศักยภาพทั้งด้านบุคลากรและสภาพพื้นที่ ในการยกระดับในการเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน(3R Learning Center) แห่งที่ 7  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้-ประสบการณ์ ถ่ายทอดสู่สาธารณชนและหน่วยงานต่างๆ และส่งต่ออนุชนรุ่นหลัง  โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป 
 
ฐานการเรียนรู้ประกอบด้วย 7 ฐาน ดังนี้
  1. ฐานการเรียนรู้ ธนาคารขยะรีไซเคิล
          เรียนรู้กระบวนการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล  ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  1. ฐานการเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์ชุมชน
          เรียนรู้วิธีการผลิตกล่องใส่ของผ้าไหม สำหรับใส่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2545  ได้ความสนใจทั้งในปละต่างประเทศ
  1. ฐานการเรียนรู้ การเลี้ยงไส้เดือน
          เรียนรู้การกำจัดขยะอินทรีย์ ในครัวเรือน โดยการเลี้ยงไส้เดือนดิน ประโยชน์ที่ได้จากการเลี้ยงไส้เดือน และวิธีการเลี้ยงไส้เดือน
  1. ฐานการเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
         การปลูกพืชผักสวนครัว  โดยการใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ คือ มูลไส้เดือน และน้ำหมักชีวภาพ
  1. ฐานการเรียนรู้ น้ำหมักชีวภาพ
          เรียนรู้ขั้นตอน กระบวนการในการน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและชุมชน
  1. ฐานการเรียนรู้ กลุ่มสร้างอาชีพแม่บ้าน
          เรียนรู้ ผลิตภัณฑ์ อาหาร เด่นของชุมชนเพื่อการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน
  1. ฐานการเรียนรู้ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล
         เรียนรู้การนำของเหลือใช้ มาทำสิ่งประดิษฐ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
 
เวลาเปิด-ปิด
เปิดวันจันทร์ – วันศุกร์ ( ปิดเสาร์อาทิตย์)
เช้า   10.00 – 12.00 น. และ บ่าย   13.00 – 15.30 น.
 
อัตราค่าบริการ
ค่าสถานที่ในการศึกษาดูงาน 
ค่าทีมวิทยากรบรรยาย        
ค่าอาหารว่าง                      
ค่าอาหารกลางวัน                
 
หมายเหตุ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม นางพันธ์วดี 098-565-8247  และนางลัดดาวัลย์  086-665-1954
ได้ที่  มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ3R) โทร.02-272-5915


รางวัลเชิดชูเกียรติ
-รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 โครงการประกวดชุมชนอยู่ดีมีสุข ดีเด่น ประจำปี 2551 เทศบาลตำบลนครหลวง (9 สิงหาคม 2551)
-รางวัลชนะเลิศ การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลหมู่บ้าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (5 กันยายน 2559)
-รางวัลชนะเลิศ การจัดการขยะอินทรีย์ด้วยกระบวนการเลี้ยงไส้เดือนดิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  (5 กันยายน 2559)
-รางวัลชนะเลิศ โครงการสนับสนุนให้ชุมชนจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (16 กันยายน 2559)
-รางวัลดีเด่น  ต้นแบบการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นเลิศ ระดับพื้นที่ เรื่อง “การบริหารจัดการขยะในชุมชน” จากอธิบดีกรมอนามัย (30 พฤษภาคม 2560)